Log in

goodpods headphones icon

To access all our features

Open the Goodpods app
Close icon
headphones
ธรรมละนิด

ธรรมละนิด

พระอาจารย์ชยสาโร

ธรรมละนิด
bookmark
Share icon

All episodes

Best episodes

Top 10 ธรรมละนิด Episodes

Goodpods has curated a list of the 10 best ธรรมละนิด episodes, ranked by the number of listens and likes each episode have garnered from our listeners. If you are listening to ธรรมละนิด for the first time, there's no better place to start than with one of these standout episodes. If you are a fan of the show, vote for your favorite ธรรมละนิด episode by adding your comments to the episode page.

ถ้าวันหนึ่งเราสูญเสียคนหรือสิ่งของที่เรารักไป เราจะมีวิธีจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความสูญเสียอย่างไร?

เราไม่ควรจะรอถึงการพลัดพราก ควรจะซ้อมจิตตั้งแต่อยู่ด้วยกัน พระพุทธองค์ให้เราสวด ให้เราระลึกอยู่ทุกวัน “เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ มีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นจากความตายไปไม่ได้ มีความพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง” ต้องคิดบ่อยๆ คิดทุกวันๆ ไม่ใช่นานๆ คิด พอเราคิด เราพิจารณา เราสวดทุกวัน มันจะซึมซับเข้ามาในใจเรา จนกระทั่งความพลัดพราก นี่มันจะไม่ใช่ว่าจะไม่มีความรู้สึก มันต้องมีแน่นอน ถ้าเรารักใคร เราผูกพันกับใคร แล้วพลัดพรากต้องรู้สึก

แต่พระพุทธองค์ก็เคยเปรียบเทียบเหมือนกับโดนลูกศรกับโดนลูกศรที่อาบน้ําพิษ ถ้าเราพิจารณาเรื่องความเป็นธรรมดาของความเกิดแก่เจ็บตาย ความพลัดพราก ก็เจ็บเหมือนกับโดนลูกศร แต่ไม่มียาพิษ

ทีนี้วิธีรักษาแผลก็คือรักษาความสะอาดของแผลนั่นเอง การรักษาความสะอาดก็คือ การงดเว้นจาก หนึ่ง การหลงใหลอยู่กับความคิดว่าไม่น่าเป็นอย่างนี้เลย เขาไม่น่าพลัดพรากเราเร็วขนาดนี้ หรือว่า คิดที่ความดีหรือบางสิ่งบางอย่างที่ว่าจะทําในอดีต ก็เลยสุดท้ายก็ไม่ได้ทํา หรือว่าเคยล่วงละเมิด หรือเคยอะไรบ้างเล็กน้อยไม่เคยมีโอกาส อย่าไปคิดวกวนอยู่อย่างนั้น จิตก็จะทุกข์อยู่ร่ําไปเหมือนกับปล่อยให้แผลติดเชื้อ อีกวิธีหนึ่งที่คนชอบหลงก็คือ พยายามบังคับไม่ให้คิด ทํานั่นทํานี่ วิ่งไปวิ่งมา เพื่อจะไม่ให้คิด แต่ที่จริงนะ มันก็ยังเป็นการเติมเชื้อของมันอยู่ดี

วิธีที่ถูกต้องที่ได้ผลคือการรับรู้รับทราบต่อความรู้สึกของตัวเอง ว่านี่คือแผล นี่คือความเศร้า ก็รู้ แล้วเมื่อจิตคิด เริ่มจะคิด เราก็รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้จิตตามมัน แต่อย่าให้ต่อต้านมัน อย่าให้ไปบังคับ รับรู้รับทราบ และความรู้สึกมันจะค่อยๆ จางไปตามธรรมชาติ เหมือนแผลที่มันจะค่อยๆ หายไป มันไม่ใช่ปุบปับ มันแล้วแต่ ถ้าเป็นคนใกล้ชิดมากอาจจะอย่างน้อยหนึ่งปี ส่วนมากคงถึงหนึ่งปี เสียคุณพ่อคุณแม่นี่ เป็นต้น นี่ไม่ใช่ว่าจะเร็ว ก็เรียกว่าธรรมชาติ อาตมาอยากเปรียบเทียบเหมือนภาษี มันก็ต้องเสียภาษีความรัก ส่วนมากเราก็นี่เออ...มันคุ้ม ยอม ยอม...มันคุ้มค่าอยู่

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode

ท่านอาจารย์เปรียบเทียบคําสอนพระพุทธเจ้ากับเทคโนโลยี หมายถึงอย่างไรขอความเมตตาขยายความ?

คําสอนของพระพุทธองค์นั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือคําสอนซึ่งเป็นการเปิดเผยแสดงความจริงของธรรมชาติ โดยเฉพาะธรรมชาติของมนุษย์เราเอง กลุ่มที่สองก็คือคําสอนที่ตอบปัญหาว่า ในเมื่อความจริงเป็นเช่นนี้เราควรจะรับมือกับมันอย่างไร ควรจัดการ ควรปฏิบัติต่อมันอย่างไร

ยกตัวอย่างคําสอนกลุ่มแรก คือ ในปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธองค์ตรัสก่อนปรินิพพาน พระองค์ตรัสไว้ว่า “สิ่งทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา” อันนี้ก็คือการยกข้อสังเกตหรือว่าเปิดเผยความจริงของธรรมชาติ แล้วพระพุทธองค์ก็ตรัสต่อไว้ว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอทั้งหลายควรถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” หมายถึงว่า ผู้มีปัญญาเมื่อตระหนักรู้ได้ว่า สิ่งทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดาก็ควรจะอยู่อย่างไม่ประมาท

คําสอนกลุ่มแรกเราเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ได้ แต่ก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือว่า pure sciences ทีเดียว เนื่องจากว่าคําสอนที่พระพุทธองค์เปิดเผยแสดงนั้นก็เฉพาะความจริงที่พระองค์เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในการพัฒนาตน

ส่วนคําสอนกลุ่มที่สองนั้น อาตมาก็เปรียบเทียบกับเทคโนโลยี เพราะคําว่า ‘เทคโนโลยี’ นั้น ไม่ได้จํากัดอยู่แค่สิ่งประดิษฐ์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อะไรเป็นต้น แต่หมายถึง หลักการ วิธีการ เทคนิค กระบวนการต่างๆ ซึ่งรวมกันแล้วก็คือการเอาความรู้ในธรรมชาติ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์โดยตรง

เพราะฉะนั้นคําสอนของพระพุทธองค์จึงเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ส่วนที่เป็นเทคโนโลยีนั้น อาตมายืนยันว่าหรือเชื่อมั่นว่า มีแต่พระพุทธศาสนาที่มีเทคโนโลยี ที่เป็นขั้นตอน ที่ละเอียดอ่อน ที่ปฏิบัติได้ ได้ผลจริง มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณ์ของพระศาสนาของเรา

และในทุกวันนี้ ในยุคที่คนไทยส่วนใหญ่มองศาสนาผ่านแนวความคิด concept สายตาของตะวันตก ก็เป็นส่วนของพุทธศาสนาที่คนรุ่นใหม่มองข้าม เพราะไม่เหมือนในศาสนาอื่น ก็อยากให้ทุกคนได้สํานึกได้ศึกษา แล้วได้รับประโยชน์จากพุทธศาสนากลุ่มที่เป็นคําสอนที่เป็นเทคโนโลยีในการพัฒนาสุขภาพ คุณภาพ สมรรถภาพของจิต ในการพัฒนาชีวิตให้ถึงการดับทุกข์และการเข้าถึงความสุขที่แท้จริง

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode

หากมีงานหรือภาระหน้าที่มาก ไม่สามารถปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่อเนื่องนานๆ ได้ หรือถ้ามีโอกาสปฏิบัติก็ฟุ้งซ่าน ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ จะมีวิธีให้กําลังใจตัวเองอย่างไรให้ไม่เลิกปฏิบัติไปเสียก่อน?

การปฏิบัติธรรมไม่ได้จํากัดอยู่ที่อิริยาบถหรือสถานที่ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม คือ การปฏิบัติในรูปแบบที่เราสามารถจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เอื้อที่สุดต่อการภาวนา แต่ในชีวิตประจําวันเราต้องฉลาด เราต้องเก่งในการปรับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบท กับสิ่งแวดล้อม กับภาระหน้าที่ของเรา โดยถือหลักสัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ ดูแลกาย ดูแลใจ ในลักษณะที่ไม่ให้หรือว่าป้องกันไม่ให้สิ่งที่เป็นบาปเป็นอกุศลได้ครอบงําจิตใจ หรือว่าถ้าเผลอไปมันครอบงําไปแล้วก็ปฏิบัติในการปล่อยวาง เป็นโอกาสเสริมสร้างคุณงามความดีที่ยังไม่มีหรือมีน้อยให้เจริญงอกงาม อย่างเช่นการถือว่า โอ้นี่... โอกาสนี้มันจะสงบระงับเหมือนนั่งสมาธิไม่ได้แน่นอน แต่เป็นโอกาสฝึกสัมมาวาจา ฝึกสิ่งที่เป็นจริง เป็นประโยชน์ถูกกาลเทศะ พูดด้วยความสุภาพอ่อนน้อมอย่างมีเมตตาหวังดีต่อเขา เป็นต้น

ถือว่าการปฏิบัติธรรมในรูปแบบก็มีโอกาสอยู่บ้าง ทําในรูปแบบอยู่ที่บ้าน แต่ในชีวิตประจําวันเราต้องฝึกในการปรับการปฏิบัติให้เหมาะสม เพื่อจะมีความรู้สึกว่าต่อเนื่อง สมมุติว่าเราได้ทําสมาธิตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางวัน ต้องมีความรู้สึกว่ามันต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่ามานั่งตอนเย็นมันเริ่มต้นจากศูนย์ ก็ควรจะมีสติรู้กาย รู้ใจ ระมัดระวัง ถ้าจิตฟุ้งซ่านวุ่นวายก็เป็นสัญญาณบอกว่า เราไม่ได้ดูแลจิตใจเท่าที่ควร ไม่ได้สํารวม บางทีก็อ่านฟังอะไรที่มันไร้สาระมากเกินไป มันก็ธรรมดา ก็ต้องทําให้จิตใจเราฟุ้งซ่าน

ฉะนั้น ในเรื่องของโซเชียลมีเดียเรื่องการรับข้อมูลต่างๆ นั้น เราก็ต้องมีการกลั่นกรอง อย่าไปรับสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อจิตใจเข้ามาสู่สมองเราจนใช่เหตุ รับผิดชอบสุขภาพจิตใจตัวเองด้วยการตั้งสติรู้ตัวอยู่ในปัจจุบัน

การปฏิบัติธรรมมีการท้าทายอยู่ตลอดเวลาทํายังไงจิตใจของเราก็จะอยู่กับธรรมไม่ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode
ธรรมละนิด - ธรรมละนิด : คนดี
play

04/12/22 • 2 min

คนดีในความหมายของพุทธศาสนาคืออะไร?

ที่จริงแล้วไม่ค่อยอยากใช้คําว่า 'คนดี' เพราะว่า 'ความดี' ก็มีเกิดขึ้น ดับไป วันหนึ่งหลายครั้ง อาจจะมี 'ความไม่ดี' เกิดขึ้น ดับไป วันหนึ่งหลายครั้ง ในแต่ละคน เพราะฉะนั้นอาจจะบอกว่า ชาวพุทธเราพยายามให้มีความดีมากขึ้นๆ ให้ความไม่ดีน้อยลงๆ

อย่างไรก็ตามคําว่า 'ดี' จะเข้าใจความหมาย ในเมื่อโยงไปถึงสิ่งที่เราถือว่าดีที่สุด มันอาจจะสับสนเหมือนอย่างที่เขาบอกว่า ทุกศาสนาหรือว่าทุกลัทธิสอนให้เราดี นี่มันแปลว่าอะไร มันคืออะไร เพราะว่าในความดีของแต่ละลัทธิแต่ละศาสนา มันไม่ใช่ว่าจะตรงกันทีเดียว มีบางส่วนที่ตรงกัน บางส่วนที่ไม่ตรงกัน

บางสิ่งที่บางศาสนาสอนว่าดี ชาวพุทธเราอาจจะไม่ยอมรับว่าดี แล้วบางสิ่งบางอย่างที่ชาวพุทธเราว่าดี บางศาสนาอาจจะไม่ถือว่าดีก็ได้ ฉะนั้นเราจะเข้าใจคําว่าดี โยงไปถึงดีที่สุด ดีที่สุดของเราก็คือ ไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีหลง ดีที่สุดของเราคือถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความเมตตากรุณา ด้วยความบริสุทธิ์

ฉะนั้นในความดีของเรา เราทําอะไร พูดอะไร คิดอะไร ที่ทําให้สิ่งไม่ดีในจิตใจเราน้อยลง เรียกว่าดี ที่ทําให้เรามีปัญญามากขึ้น มีความเมตตากรุณามากขึ้นเป็นนิสัย ละจากกิเลสมากขึ้น ก็ถือว่าดี ก็สรุป ดีคือสิ่งที่เอื้อต่อสิ่งที่ดีที่สุด

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode

ทําอย่างไรเราถึงจะเป็นกําลังใจและที่ปรึกษาที่ดีให้กับคนรอบข้างได้?

ทางพระพุทธศาสนาของเรา เราถือว่าการสร้างประโยชน์ตน สร้างประโยชน์ท่านต้องพร้อมๆ กัน คือควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นเราก็ต้องฝึกให้จิตใจตัวเองมีสติ มีกําลัง แล้วจิตใจไม่หวั่นไหวต่อเสียงสรรเสริญนินทา เป็นต้น เป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ในเมื่อเข้าถึงสภาพวิกฤติหรือว่าคนรอบข้างมีอารมณ์กัน เราก็ต้องเป็นคนที่ไม่มีอารมณ์กับเขา เราจึงจะเป็นที่ปรึกษาเขาได้

อย่างเช่น พระสงฆ์ก็สามารถเป็นที่พึ่ง เป็นที่ปรึกษา ของญาติโยมได้ ทั้งๆ ที่ไม่เป็นผู้ครองเรือน ไม่มีประสบการณ์ตรงในการครองเรือน แต่ว่าฆราวาสก็ยอมรับว่า พระสงฆ์ท่านเป็นกลาง ผู้มีความหวังดี ไม่เข้าข้างใคร เพราะฉะนั้นคําพูดของท่านก็มีน้ําหนัก ฉะนั้นเราก็ต้องเป็นผู้เป็นกลาง แล้วคําพูดของเราต้องเป็นสุภาษิต คือพูดอะไรต้องเป็นความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง พูดให้ถูกกาลเทศะ พูดด้วยความหวังดี พูดด้วยความสุภาพอ่อนโยน

ก็ต้องมีปัญญาในการสื่อสารว่า พูดกับคนนี้ต้องพูดอย่างไร บางคนนี่ต้องพูดตรงๆ ไม่พูดตรงๆ ก็ไม่เข้าหู บางคนพูดตรงๆ เขารับไม่ได้ เราก็ต้องดูนิสัยใจคอเขา เราก็ต้องศึกษาพยายามเอาใจเขาใส่ใจเรา ให้เกียรติเขา ถึงแม้เราไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาคิด สิ่งที่เขาพูด เราก็ต้องเป็นกลาง พยายามถามตัวเองว่า ทําไมเขาจึงจะคิดว่าการกระทําอย่างนี้ หรือการพูดอย่างนี้ถูกต้อง เพราะทุกคนก็ต้องเข้าข้างตัวเองอยู่แล้วว่าเขาถูก เราเห็นว่าไม่ถูก แต่เราก็ต้องพยายามเข้าใจว่าทําไมเขาจึงคิดว่าเขาถูก

เพราะฉะนั้นถ้าเราเป็นผู้ที่ไม่เลือกที่รักไม่มักที่ชัง เหมือนเป็นคนที่เป็นกลาง แล้วก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นกลาง ทุกคนก็จะหวังว่าเราจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในครอบครัวหรือในชุมชนได้ ก็เป็นผู้ที่ถือธรรมะเป็นหลัก ไม่คิดเข้าข้างตัวเอง ไม่คิดเข้าข้างใคร อุเบกขาต้องเป็นที่ตั้ง แล้วเรามีความหวังดีต่อเขาอย่างแท้จริง เขาเป็นทุกข์ เราก็ต้องการช่วยเท่าที่เราช่วยเขาได้ เมื่อเขาเห็นแล้วเขายอมรับแล้ว เขาก็ต้องยอมให้หรือหวังให้เราจะเป็นที่ปรึกษาเขาได้

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode

พอพูดถึงพุทธศาสนามักจะได้ยินเรื่องความทุกข์บ่อยๆ อยากรู้ว่าแล้วในแง่ความสุข พุทธศาสนามองความสุขอย่างไร?

ที่จริงก็ไม่ใช่ว่าไม่กล่าวถึง ที่จริงคําว่าทุกข์เราอาจจะแปลได้ว่า ภาวะที่ขาดความสุขที่แท้จริง เดี๋ยวหลายคนบอกว่าไม่เห็นมีความทุกข์อะไร ถ้าเราแปลอย่างนี้ก็ตอบเขาได้ว่า อ้าว...แสดงว่าคุณเข้าถึงความสุขที่แท้จริงแล้วเหรอ ไม่ เขามีความสุขแบบกระท่อนกระแท่น ความสุขผิวเผิน

แต่พุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า ความสุขมีหลายประเภท หลายระดับ แล้วความสุขที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณที่เรียกว่า กามสุข ความสุขทางเนื้อหนัง เกิดจากการกระตุ้นประสาทต่างๆ เป็นความสุขที่มีข้อบกพร่องมาก มีเงื่อนไขมาก เอาเป็นที่พึ่งไม่ได้ แล้วที่เห็นได้ชัดว่า ได้เท่าไรก็ไม่เคยรู้สึกอิ่มสักที

ความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่าก็มี อย่างเช่น ความสุขจากการแบ่งปัน จากการช่วยเหลือ การให้อย่างไม่หวังสิ่งตอบแทน อันนี้ก็มี เป็นสิ่งที่ให้ความสุขด้วย แล้วก็รับความสุขด้วย ความสุขที่เกิดจากการควบคุมพฤติกรรมภายในกรอบที่เรากําหนดเอง ด้วยความสมัครใจ เรียกว่าเป็นผู้ทรงศีล เมื่อเราไม่ละเมิดศีล ๕ ข้อ ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความรู้สึกเป็นเพื่อนกับตัวเอง ความเคารพนับถือตัวเอง ย่อมปรากฏชัด เป็นความสุขอีกแบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่เรายังมีกิเลสอยู่ในใจ กิเลสนั้นจะคอยกีดกันหรือว่าจะเป็นอุปสรรค ทําให้ความสุขที่ละเอียดอ่อน และความสุขที่ตอบปัญหาชีวิตเราได้นั้น ไม่เกิดขึ้น เราจึงต้องฝึกจิตให้รู้จักปล่อยวางนิวรณ์ สิ่งเศร้าหมองอยู่ในจิตใจ เมื่อจิตใจเราได้รับผลของการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นสมาธิ จิตมีความมั่นคง หนักแน่น เยือกเย็น มีความสุขเกิดขึ้น เป็นธรรมชาติธรรมดาของจิตที่ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง เราจึงจะเริ่มเข้าใจในความหมายของ นิรามิสสุข สุขทางเนื้อหนังเรียกว่า อามิสสุข เกิดจากอามิส เกิดจากการกระตุ้น ส่วนนิรามิสสุขเกิดจากจิตใจที่สะอาดสะอ้านภายใน พ้นจากอํานาจของกิเลส แม้แต่ชั่วคราวก็ดี

แต่ตราบใดที่กิเลสยังมีอยู่ ความสุขที่แท้จริงย่อมเกิดไม่ได้ หลังจากเมื่อจิตใจได้เจริญด้วยสมาธิภาวนาเป็นฐานแล้ว เราต้องเจริญปัญญา เพราะการรู้แจ้งเห็นจริง ในกายในใจ จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นแหละ เป็นสิ่งที่ขจัดกิเลสโดยสิ้นเชิง เมื่อกิเลสดับโดยสิ้นเชิง ทุกข์ดับโดยสิ้นเชิงแล้ว เราก็เข้าถึงความสุขที่แท้จริง

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode
ธรรมละนิด - ธรรมละนิด : เริ่มวันใหม่
play

02/02/21 • 4 min

ในทุกๆ เช้าที่ตื่นขึ้นมา เราควรเริ่มต้นวันใหม่อย่างไรให้ชีวิตดําเนินไปในทางที่ถูกที่ควร?

เดี๋ยวขอถอยหลังก่อน ว่าก่อนนอน... ก่อนนอนนี่ต้องตั้งใจว่า พรุ่งนี้เช้าตื่นขึ้นมาเมื่อไรต้องลุกขึ้นทันที ไม่นอนต่อ จะช่วยป้องกันความขี้เกียจขี้คร้านตอนเช้า ตื่นเช้าแล้ว ถ้าใช้โทรศัพท์มือถือเป็นนาฬิกาปลุก ห้ามเช็คไลน์ ไม่ต้อง เอาทีหลัง ตื่นขึ้นมานี่จิตใจอยู่ในสภาพที่ปลอดโปร่งพอสมควร ไม่น่าจะมีความฟุ้งซ่านวุ่นวายอยู่ในสมองแต่เช้า

ฉะนั้นเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ภาวนา ที่เราจะได้เจริญสติในรูปแบบ ถ้ายังลุกไม่ได้อยากนอนต่อ ก็มีกุศโลบายอีกก็พลิกมานอนคว่ํา แล้วก็วิดพื้น ๕-๖ ครั้ง สดชื่น... สดชื่นแล้วไปทํากิจส่วนตัว ทํากิจส่วนตัวแล้ว ถ้ามีบุญมีห้องพระก็เข้าห้องพระ ไม่มีห้องพระก็เข้าที่ ที่เรานั่ง แต่อย่าให้มันใกล้เตียงจนเกินไป แล้วก็ทําวัตรสวดมนต์ เล็กๆ น้อยๆ แล้วแต่เวลา แต่การทําวัตรสวดมนต์ การไหว้พระ ก็เป็นการเตรียมจิตก่อนที่จะเข้าสู่การภาวนา การภาวนานั้น ถ้าหากว่าเรายังไม่ค่อยมีกําลังใจ ก็ขอแนะนําให้ตั้งใจว่า เราจะนั่งสมาธิ ๑๕ นาที ๕ นาทีแรก เราก็ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ๕ นาทีต่อมาเราก็อุทิศให้คุณพ่อ ๕ นาทีสุดท้ายให้คุณแม่ ก็เป็นกุศโลบายทําให้มีกําลังใจ มันไม่ใช่สําหรับเราคนเดียว เราก็ทําเพื่อสร้างคุณงามความดี อุทิศให้คุณพ่อคุณแม่ แล้วก็เป็นการปฏิบัติบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทีนี้เราเจริญสติอย่างไรก็แล้วแต่ อย่างน้อยก็ระวังไม่ให้ง่วงเป็นอันขาด ทําอย่างไรเราจึงจะอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อย่างไม่ง่วง อย่างมีความสุข

ในเมื่อถ้าเราตั้งสติไว้ดีตั้งแต่เช้า แล้วคอยประเมินผลในชีวิตประจําวัน ไม่นานจะเห็นว่าวันไหนทําสมาธิแต่เช้า เจริญสติแต่เช้า วันนั้นความอดทนก็มากขึ้นหน่อยหนึ่ง ความสํารวม ความใจเย็น ความเมตตากรุณา เราก็จะเห็นผล ทําให้คุณภาพชีวิตเพิ่มมากขึ้น จะเป็นกําลังใจให้ทําต่อ

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode
ธรรมละนิด - ธรรมละนิด : ทำไมต้องทำบุญ
play

12/08/20 • 2 min

ทําไมเราต้องทําบุญ?

ไม่ทําก็ได้ แล้วแต่

การทําบุญคือการชําระจิตใจ การทําให้จิตใจสูงขึ้น แล้วเมื่อจิตใจสูงขึ้นก็ย่อมมีความสุข เพราะฉะนั้นบุญก็คือชื่อของความสุข แต่ในภาษาไทยคําว่า ‘ทําบุญ’ มักจะหมายถึงการไปถวายของที่วัด แต่ที่จริงบุญเกิดได้ด้วยการให้ทาน หนึ่ง ด้วยการรักษาศีล หนึ่ง และด้วยการภาวนา เพราะฉะนั้น การรักษาศีลห้าก็ถือว่าเป็นการทําบุญ เพราะเป็นการทําให้บุญเกิดขึ้น ทําให้จิตใจเป็นบุญ ทําให้จิตใจสะอาดขึ้น สูงขึ้น มีความสุขมากขึ้น และการภาวนาก็คือการฝึกเพื่อระงับสิ่งเศร้าหมองในจิตใจ เพื่อบํารุงสิ่งดีงามในจิตใจ และแน่นอนแล้วก็ต้องทําให้จิตใจสูงขึ้น สะอาดขึ้น มีความสุขมากขึ้น

เพราะฉะนั้น ถ้าเราหวังความสุขความเจริญในชีวิต พระพุทธเจ้าสอนว่าการทําบุญ การทําจิตให้เป็นบุญ หรือการกระทําในสิ่งที่เป็นบุญ เป็นทางที่ดีที่สุด

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode
ธรรมละนิด - ธรรมละนิด : การุณยฆาต
play

02/06/24 • 5 min

พระอาจารย์มีความเห็นเกี่ยวกับ ‘การุณยฆาต’ อย่างไร หากมนุษย์คนหนึ่งใช้ชีวิตมาอย่างเต็มที่แล้ว พอใจในชีวิตที่ผ่านมาของตัวเองมาก และพอใจที่จะมีอายุขัยแค่อายุ ๖๐ ปี ไม่ได้ป่วยร้ายแรง ไม่ได้มีอาการซึมเศร้า ทําไมการทํา ‘การุณยฆาต’ ถึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร หากการมีอายุที่มากขึ้นคือการทรมาน สังขารอาจเสื่อมลงกว่านี้?

ข้อแรก ก็ไม่เห็นด้วยกับการขโมยคําว่า “กรุณา” ใช้ในการฆ่าคน ก็แปลไม่ดี คือมันแปลแบบไม่ยุติธรรม มันกลับเป็นการบอกอยู่ในตัวว่าเป็นสิ่งที่ดี พอฟังว่า “กรุณา” โอ้...ฆ่าด้วยความกรุณามันอาจจะดี แต่เราไม่ถือว่าเป็นความกรุณา

การที่มองชีวิตเหมือนเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ว่า ใช้ได้พอสมควรแล้ว อยากทิ้งแล้ว ใช้แล้วทิ้งนี่นะ ก็เป็นมุมมองต่อชีวิตที่อาตมาไม่เห็นด้วย การุณยฆาตมันจะมีเหตุผลบ้างถ้าเชื่อว่า ‘ตายแล้วสูญ’ แต่เราถือว่าผู้ที่ค้นคว้าในเรื่องจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้งที่สุด เป็นแบบนักค้นคว้า นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ คือพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลาย ซึ่งยืนยันในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด

อายุหกสิบแล้ว ตายแล้วนี่จะไปไหน รับรองตัวเองได้ไหม มั่นใจว่ามันจะไปที่ดีไหม ถ้าคิดว่าปิดสวิตซ์หมดเรื่อง ก็อาจจะโอเคนะ แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น จะอย่างไรไหม แล้วมั่นใจไหมว่าจะดับสูญ ด้วยเหตุผลอะไร

เหมือนเราจะอยากรู้เรื่อง สมมติว่าอยากรู้เรื่องควอนตัมฟิสิกส์อย่างนี้ เราจะไปขอความรู้จากเด็กนักเรียน ม.สาม หรือจากศาสตราจารย์ที่ฮาร์วาร์ด คิดว่าถ้าเป็นไปได้นะ ศาสตราจารย์จากฮาร์วาร์ด

ฉะนั้นอยากรู้ว่าตายแล้วไปไหนก็ไปศึกษาคําสอนพระพุทธเจ้า ก็เป็นผู้รู้ในเรื่องนี้ดีที่สุด หรือถ้าอย่างน้อย สมมติว่าเราบอกว่าไม่เชื่ออาจารย์ทางฮาร์วาร์ด ศาสตราจารย์ เชื่อเด็ก ม.สาม ก็เป็นสิทธิที่จะตัดสินอย่างนั้น แต่ในขณะเดียวกันคิดว่า ถ้าปฏิเสธว่าอาจารย์ ศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ดนี่ไม่รู้เรื่องเลย เป็นคนงมงาย อาตมาว่านี่มันกล้าเกินไปนะ มันไม่ฉลาด

การที่มองชีวิตเหมือนเป็นสิ่งที่...ก็มีความสุขเมื่อไร ก็อยู่ไป หมดความสุขแล้วก็ให้ดับ ให้ปิดสวิตซ์ แล้วต่อมาสมมติว่าคนห้าสิบก็รู้สึกอย่างนั้น หรือว่ามีลูก ลูกก็จบปริญญาตรีแล้ว รู้สึกชีวิตเราสมบูรณ์นะ ได้ปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทเกียรตินิยม จากนี้ชีวิตก็คงไม่มีอะไรดีกว่านี้ จบตรงนี้แบบ end on high จากนี้ชีวิตก็คงไม่มีอะไรสนุก หรือว่า อกหักแล้วคงไม่มีอีกแล้ว พอไม่มีคนนี้แล้ว ไม่รู้จะอยู่ทําไมแล้ว ชีวิตไม่มีค่าแล้ว คือเหตุผลอยากฆ่าตัวตายหรือที่จะดับชีวิตสําหรับคนที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ มันมีมาก

ส่วนที่อาตมาเป็นห่วงโดยเฉพาะในสังคมไทยที่กําลังเป็นสังคมคนสูงอายุ ซึ่งในอนาคตเราก็จะลําบากมากในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเริ่มๆ จะมี ก็มีอยู่แล้วที่ผู้สูงอายุรู้สึกเป็นภาระกับลูกหลาน อู้ว...ลูกหลานต้องเสียค่ารักษาพยาบาล โอ...เราตายดีกว่า จะได้ไม่เป็นภาระ ก็จะนําไปสู่กระแสสังคมว่า ถ้าผู้สูงอายุรักลูกรักหลานจริงๆ แล้วไม่อยากเป็นภาระกับเขา ให้ตายดีกว่า อันนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้นะ ในต่อไป ถ้าเราทิ้งหลักเรื่องความเวียนว่ายตายเกิด ในหลักการเห็นคุณค่าของชีวิต ในการดูแลชีวิต มันก็เป็นไปได้ทุกอย่าง ฉะนั้นเรื่องการุณยฆาตนี่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode

เวลานั่งสมาธิมักจะหลับเสมอ ไม่ทราบมีวิธีใดบ้างที่จะปรับปรุง หรือพัฒนาการภาวนาได้บ้าง?

เหตุผลที่หลับระหว่างการนั่งสมาธิมีหลายข้อด้วยกัน มันแล้วแต่ หนึ่ง บางทีก็เพราะขาดการพักผ่อน ถ้านั่งก็หลับ ลืมตาลุกขึ้นก็ยังง่วงอยู่ ก็ไปพักผ่อนดีกว่า แต่ถ้านั่งก็หลับ ลุกขึ้น สดชื่นเบิกบาน ก็คงเป็นเรื่องของกิเลส เป็นเรื่องของนิวรณ์

เหตุผลข้อแรกก็คือ ความเข้าใจ ว่าการทําสมาธิคืออะไร เพื่ออะไร มันผิดพลาดเรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างเช่น เข้าใจความสงบคือความผ่อนคลาย ก็เลยต้องการความผ่อนคลาย พอเราอยู่กับลมหายใจเรื่อยๆ ความฟุ้งซ่านลดน้อยลง เริ่มจะรู้สึกผ่อนคลายก็ไปเพลินอยู่กับความผ่อนคลาย ก็เลยกลายเป็นง่วง

แต่ถ้าเราเข้าใจว่าการภาวนาหรือการทําสมาธิ ก็เพื่อฝึกสติ ฝึกความตื่นรู้ ฝึกในการป้องกันกิเลสไม่ให้เกิดครอบงําจิต ฝึกในการปล่อยวางกิเลส ฝึกในการปลูกฝังคุณธรรม ฝึกในการบํารุงพัฒนาคุณธรรม เป็นเรื่องการทําความเพียรแล้วก็จะเป็นการป้องกันอยู่ในระดับหนึ่ง ที่สองก็คือ ฉันทะ ความพอใจ คือถ้า...เออถึงเวลานั่งก็นั่ง แต่ว่าความพร้อม ความกระตือรือล้นไม่มี มันก็มีสิทธิจะง่วงได้ง่าย

สอง นอกจากนั้นในยุคปัจจุบันนี่ จิตใจของเรามันจะยุ่งทั้งวันนะ จิตมันจะคุ้นเคยกับความยุ่งเหยิงต่างๆ พอจะภาวนาแล้วมันจะไม่คิดอะไร มันเหมือนกับสมองจะเข้าใจว่าได้เวลาหลับแล้ว เพราะปกติในชีวิตประจําวันก็จะมี ฟุ้งซ่านกับหลับ สองอย่าง ไม่ฟุ้งก็หลับ ไม่หลับก็ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นพอมันเริ่มฟุ้งซ่านน้อยลง สมองมันจะ...ได้เวลาหลับแล้ว

วิธีจะป้องกันคือเปลี่ยนความคิด แล้วก็ก่อนจะนั่งให้สํารวจความรู้สึก มันมีความกระตือรือล้นไหม มันมีศรัทธาไหม

ทีนี้เวลาถ้านั่งสมาธิก่อนนอนมันก็ยากที่จะมีฉันทะ ที่จะพัฒนาให้ก้าวหน้าในธรรม ส่วนมากมันกลายเป็นพิธีพอจิตสงบบ้างก่อนจะหลับ ก็ไม่ใช่ว่าไม่ควรทํา แต่ช่วงเช้านี่จะสําคัญกว่า จะได้ผลมากกว่า และถ้านั่งตอนเช้าแล้วคอยประเมินผลในชีวิตประจําวัน เออ...ถ้าทําตอนเช้าแล้วรู้สึก เออ...ใจก็เย็นลง ความอดทนความเมตตา ก็เอ้อ...ใช่ได้ผล มันก็เป็นกําลังใจ

อีกข้อหนึ่งก็คือ นิสัยคนบางคนนี่คือ จะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เมื่อมีปัญหาอะไรนะ เดินออกไปไม่อยากยุ่ง ถ้าผู้หญิงก็อยากพูด อยากคุย แต่ผู้ชายนี่แบบสร้างกําแพงเลย ไม่พูดดีกว่า คือมันเป็นการปิดสวิตซ์เวลาเกิดไม่สบายใจ เกิดทุกข์ใจ ก็ปิดสวิตซ์เสียดีกว่า คือ ดับ เวลานั่งสมาธิเกิดเบื่อ เกิดอะไรขึ้นมา ก็เลยปิดสวิตซ์นะบางที ให้เวลามันผ่านไป

เพราะฉะนั้นกิเลสที่จะปรากฏในรูปแบบความง่วงเหงาหาวนอนมันก็มีหลายตัว มันแล้วแต่ นั่งตัวตรงๆ ลืมตา ไม่จําเป็นต้องหลับตา แต่ไม่เพ่งนะ วางสายตาให้นุ่มนวล ให้สบายๆ

พระอาจารย์ชยสาโร

bookmark
plus icon
share episode

Show more best episodes

Toggle view more icon

FAQ

How many episodes does ธรรมละนิด have?

ธรรมละนิด currently has 81 episodes available.

What topics does ธรรมละนิด cover?

The podcast is about Buddhist, Buddhism, Dharma, Religion & Spirituality and Podcasts.

What is the most popular episode on ธรรมละนิด?

The episode title 'ธรรมละนิด : ประโยชน์สูงสุดของมนุษย์' is the most popular.

What is the average episode length on ธรรมละนิด?

The average episode length on ธรรมละนิด is 3 minutes.

How often are episodes of ธรรมละนิด released?

Episodes of ธรรมละนิด are typically released every 14 days.

When was the first episode of ธรรมละนิด?

The first episode of ธรรมละนิด was released on Apr 16, 2019.

Show more FAQ

Toggle view more icon

Comments