Log in

goodpods headphones icon

To access all our features

Open the Goodpods app
Close icon
headphones
BACC Library Podcast

BACC Library Podcast

Bangkok Art and Culture Centre

Podcast ที่นําเสนอเรื่องราวของการอ่านและศิลปะ ทุกจังหวะของชีวิต
bookmark
Share icon

All episodes

Best episodes

Seasons

Top 10 BACC Library Podcast Episodes

Goodpods has curated a list of the 10 best BACC Library Podcast episodes, ranked by the number of listens and likes each episode have garnered from our listeners. If you are listening to BACC Library Podcast for the first time, there's no better place to start than with one of these standout episodes. If you are a fan of the show, vote for your favorite BACC Library Podcast episode by adding your comments to the episode page.

BACC Library Podcast ชุด Join their Journeys

ตอน พนม สุวรรณะบุณย์ โดย เทพนม สุวรรณะบุณย์

ชวนคุยโดย: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

ร่วมพูดคุยกับ: เทพนม สุวรรณะบุณย์

พนม สุวรรณะบุณย์ ศิลปินวาดภาพประกอบและการ์ตูนในยุคแรก ๆ ของไทย มีผลงานวาดภาพประกอบบนปกนิตยสาร และหนังสือ ให้เห็นกันตามแผงหนังสือเป็นประจําในช่วงปี พ.ศ. 2490-2503 ตัวอย่างผลงานวาดภาพประกอบของพนม ได้แก่ ราชาธิราช บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์ เพชรพระอุมา ผู้ชนะสิบทิศ กุหลาบแดง เป็นต้น

นอกจากผลงานวาดภาพประกอบแล้ว พนม มักจะวาดภาพเหมือนของเพื่อน ๆ นักเขียน หรือเพื่อนศิลปินท่านอื่น เช่น ก.สุรางคนางค์ สง่า อารัมภีร์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ รงค์ วงษ์สวรรค์ ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นต้น พนมยังได้ผลิตงานเขียนการ์ตูนออกมาด้วย ตัวอย่างเช่นเรื่อง ซุปเปอร์บอย ติ๊ก ตุ่น โดยนําชื่อลูกชายมาเป็นชื่อเรื่องและเป็นตัวละครในเรื่อง

ในงานนิทรรศการ Bangkok Illustration Fair 2023 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม 2566 ครอบครัวของพนม โดยมีลูกชายทั้งสามคน คือ พนเทพ เทพนม และพรเทพ สุวรรณะบุณย์ (ตุ่น ติ๊ก ตุ๋ย) รวมทั้งหลานชาย จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ เติร์ก ได้นําผลงานภาพวาดบางส่วนของพนมมาจัดแสดงภายในงานนี้ด้วย

ใน episode นี้ คุณติ๊ก เทพนม สุวรรณะบุณย์ ลูกชายคนกลาง จะมาเล่าเรื่องราวของคุณพ่อให้พวกเราฟังค่ะ

ติดตามผลงานของ พนม สุวรรณะบุณย์ ได้ทาง FB: พนม สุวรรณะบุณย์ กับสิ่งที่เหลืออยู่

bookmark
plus icon
share episode
BACC Library Podcast - Ep.28 JLIT – คุณอรรถ บุนนาค
play

01/20/24 • 68 min

เราน่าจะหมุดหมายจุดเด่นของสํานักพิมพ์ของเราอยู่ที่ทําวรรณกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น นวนิยายสมัยใหม่ของญี่ปุ่น เลือกนักเขียนที่พอที่จะเป็นที่รู้จักอยู่แล้วบ้างมาเผยแพร่ เพราะฉะนั้นเล่มแรกของเราก็จะเป็น “สูญสิ้นความเป็นคน” ของ ดะไซ โอซามุ

.

ทีนี้เราก็เห็นว่าคาแรกเตอร์ของเราเนี่ย ก็คือเลือกเรื่องที่เป็น modern literature แต่เราเลือกวรรณกรรมดาร์กหน่อยนึงแล้วกัน ให้มันเป็นสัญญะ เป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของสํานักพิมพ์ เรามีความรู้สึกว่าเด็กควรที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ในด้านมืดของความเป็นจริงไว้ก่อนด้วย เพื่อที่จะมีภูมิคุ้มกัน มีเกราะป้องกัน จะได้ไม่รู้สึกว่า โลกนี้มันสวยลาเวนเดอร์ไปหมดทุกสิ่ง

.

ในระหว่างที่เราทําไป เราพยายามจะหาแนวใหม่ เพื่อที่จะมาแนะนํา และเราก็เห็นว่าในสังคมเริ่มรับหนังสือแนวนี้ได้ เราก็จะไปหาต้นฉบับ และการคัดสรรต้นฉบับมันก็จะเป็นเอกลักษณ์ จุดเด่นของสํานักพิมพ์เรา บางทีถ้าเราใช้ทั้งเล่มของที่เขามีอยู่แล้ว ตอนนี้เริ่มรู้สึกสนุกกันภายในสํานักพิมพ์ การคัดสรรเรื่องสั้นของนักเขียนหลาย ๆ คนแต่มีธีมเดียวกัน หรือว่านักเขียนคนเดียวที่มีธีมมาจากเรื่องหลาย ๆ อัน มันกลายเป็นแบบว่า เป็นจุดแข็งของสํานักพิมพ์เรา เพราะไม่มีใครสามารถที่จะไปเข้าถึงตัวต้นฉบับ แล้วก็อ่าน แล้วก็ศึกษา แล้วก็สนใจ อย่าง GL กับ BL ที่เราทํา ต้องขุดกันมานานมาก ใช้เวลาเป็นปีที่จะคัดสรรต้นฉบับ

.

BACC Library Podcast ชุดรู้จักทักทายสํานักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนําจากสํานักพิมพ์เฉพาะทาง

ตอน สํานักพิมพ์ JLIT – คุณอรรถ บุนนาค

ผู้ดําเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

แขกรับเชิญ: คุณอรรถ บุนนาค

.

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ทาง

YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=LsIOcDh5FMk

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify: https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

bookmark
plus icon
share episode

ในชีวิตนี้มีความชอบอยู่สองอย่าง คือ ภาษาและภาพ ชอบพัฒนาทักษะในสองเรื่องนี้ พอถึงจุดหนึ่งของเวลาที่เราคิดว่า ได้แล้ว เราจึงอยากทําหนังสือภาพ คือ หนังสือภาพนี่อยู่ในใจมาตลอด อยากทํามาตลอด

เราจึงคิดถึงหนังสือ ตาตุและปาตุ สมัยไปเรียนที่ฟินแลนด์

“การคิดสิ่งประดิษฐ์สุดเพี้ยน ภาษาผู้ใหญ่ก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ การได้ลองคิดอะไรใหม่ๆ ในวงเล็บก็คือ “นวัตกรรม” นั่นแหละ”

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ใน BACC Library Podcast ชุด รู้จัก ทักทาย สํานักพิมพ์ขนาดเล็ก

ตอน สํานักพิมพ์นาวา-คุณก้อย กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์

รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

YouTube: bacc channel: https://www.youtube.com/watch?v=4lK9ABhUu58

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

Spotify for Podcasters https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

bookmark
plus icon
share episode

“ไลบรารี่ เฮ้าส์ เริ่มมาจากคนที่ชอบหนังสือ รักหนังสือ และอยากทําหนังสือคนหนึ่ง คนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งก็คือหน่อยเอง ก่อตั้งเมื่อปี 2015 ตอนนั้นหน่อยเริ่มเข้ามาในแวดวงของสํานักพิมพ์ขนาดเล็กแล้ว

หน่อยเคยไปเห็นใน twitter ว่ามีนักอ่าน ซึ่งก็น่าจะเป็นนักอ่านรุ่นใหม่ เขาสรุป character ของไลบรารี่ เฮ้าส์ ประมาณว่า เป็นหนังสือที่มีเสียงของผู้หญิงชัดเจน เป็นผู้หญิงที่เหมือนมีความขบถอยู่ในตัว แต่ว่าไม่ได้แสดงออกว่า ฉันเนี่ยหัวแข็ง ดื้อด้าน มีความเป็นเสียงของผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการจะ liberate ตัวเองจากกรอบเดิม ๆ หรือขนบเดิม ๆ อันนี้คิดว่าน่าจะเป็น character ที่เราเห็นบ่อยที่คนอื่นพูดถึงเราแบบนี้ ผ่านเนื้อหาของวรรณกรรมแปลที่เราคัดสรรมาแปลเป็นภาษาไทย แล้วก็จัดพิมพ์และจําหน่าย

หน่อยเข้าใจว่า การที่เราได้กลับมาทําอะไรที่เรารัก เอาแค่มีโอกาสได้ทํา มันก็มีความสุขแล้ว แล้วยิ่งเรามีโอกาสได้ทํางานกับคนที่เก่ง คนที่มีวินัย คนที่นิสัยดี คุยกับเราแล้วมันไม่มีปัญหา ทุกคนรักงานตัวเอง ทุกคนให้เกียรติกัน หน่อยว่า อันนี้มันคือที่สุด ที่สุดของการทํางาน ที่คนทํางานคนหนึ่งจะหาได้”

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ใน BACC Library Podcast ชุด รู้จัก ทักทาย สํานักพิมพ์ขนาดเล็ก

ตอน สํานักพิมพ์ Library House - คุณหน่อย รังสิมา ตันสกุล

รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

YouTube: bacc channel:

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

Spotify for Podcasters https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

bookmark
plus icon
share episode

“โจทย์แรกอยากจะทําหนังสือให้มันไร้ขอบขีดจํากัดของรูปทรง เพราะเรามองหนังสือเป็นงานสถาปัตยกรรม ส่วนตัวนะ เป็นรูปทรง รูปร่าง แล้วมันมีสปิริตอยู่ข้างใน ฟอร์มมันอะ มองเป็น art object เหมือนเป็นงานศิลปะชิ้นนึง

.

เรามีแต่หนังสือภาพ ๆ เป็นนิยายภาพ เป็นหนังสือบันทึกการเดินทางด้วยภาพ แล้วก็จะมีอีกอันหนึ่ง เราใช้คําว่าเป็นฟิวชั่นบุ๊ค คือเป็นอะไรก็ได้ผสมผสานให้ออกมาเป็นแบบรูปทรงอะไรก็ได้แล้วก็เล่นกับมัน เล่นกระดาษ เป็นการ์ด เป็นอะไรก็ได้ จริง ๆ พวกนี้มาจากการคิดการสร้างมูลค่างาน เข้ามาสู่ในยุคที่แบบว่า เราเริ่มค้นพบแล้วว่าจะทํายังไง ให้ทําหนังสือให้น้อยที่สุดแต่ได้ผลลัพธ์มากที่สุด มันกลายเป็นหัวใจอันเดียวในปัจจุบัน ที่เราคิดว่าวันนี้จะเป็นทางรอดของการทําสํานักพิมพ์ลักษณะหนังสือที่เป็น applied art

.

พี่มีความเชื่อว่าหนังสือมันทําให้โลกเรางดงามได้ จริง ๆ ก็ตั้งโจทย์กับทุกคนด้วยนะที่ทําหนังสือ อยากให้หนังสือมันเป็นเพื่อนกับคนที่มาซื้อด้วย บางทีหนังสือเล่มเดียวอาจจะทําให้เขาแบบว่า อยู่บนโลกนี้ มันมีจริง ๆ คือหนังสือมันเหมือนเป็นเพื่อนเขาได้ ที่นี้ถ้าเกิดคนแวะมาดู โอเคอาจจะดู สร้างความสุขให้ตนเองอันดับหนึ่ง อันดับสองคือซื้อด้วยนะ เผื่อสร้างความสุขให้ศิลปินที่ทํางานด้วยก็อีกส่วนหนึ่ง ทําให้โลกรวม ๆ มันเดินทางไปด้วยความงดงาม ผมว่ามันเป็นเรื่องของความที่มันควรจะเป็น เพราะศิลปะมันช่วยให้ทุกอย่างมันงดงามได้”

BACC Library Podcast ชุดรู้จักทักทายสํานักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนําจากสํานักพิมพ์เฉพาะทาง

ตอน สํานักพิมพ์ Fullstop - คุณสมคิด เปี่ยมปิยชาติ

ผู้ดําเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

แขกรับเชิญ: คุณสมคิด เปี่ยมปิยชาติ

.

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ทาง

YouTube: bacc channel

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify: https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

ติดตามสํานักพิมพ์ Fullstop ได้ทาง

FB: Fullstop Book

IG: fullstop.book

เว็บไซต์: www.fullstopbook.com

https://shopee.co.th/fullstopbooks

https://www.lazada.co.th/shop/fullstop-book

http://fullstopbooks.lnwshop.com/

bookmark
plus icon
share episode

“มาถึงจุดหนึ่ง ย้อนกลับไปมองผลงานตัวเองเก่า ๆ มีบางเรื่องที่เราอยากจะทําอะไรมากกว่านั้น ผลงานบางเล่มที่เรารักเป็นพิเศษ ในตอนนั้นหนังสือเล่มนี้มันไม่เป็นที่รู้จักขนาดนั้น มันเป็นเพราะสํานักพิมพ์ในตอนนั้น ใส่ใจมันไม่เพียงพอหรือเปล่า นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ว่า พอเรามีศักยภาพถึงจุดหนึ่งแล้ว เราอยากจะนําหนังสือมาพิมพ์เอง

.

จุดเริ่มต้นอยากจะเอาผลงานของตนเองที่เรารักมันมาก แต่เรารู้สึกว่าในช่วงเวลาหนึ่งที่มันยังไม่ถูกปฏิบัติด้วยอย่างที่มันควรจะเป็น นํากลับมาทําใหม่ จึงเป็นหนังสือชุดแรกของแมงมุมบุ๊ก ลวง แสบ เหยื่อ หนังสือของ คุณหมอโหวเหวินหย่ง

.

นักอ่านในยุคนี้มักจะเป็นนักอ่านมาตั้งแต่เด็ก ถ้าเกิดเราไม่ปั้นนักอ่านเด็กในตอนนี้ แล้วในอีก 10 20 ปีข้างหน้า เราจะมีนักอ่านปัจจุบันได้อย่างไร นั่นก็เป็นเหตุที่เรายังคงโฟกัสที่หนังสือเด็กควบคู่ไปกับนิยายที่เราทําไปด้วย

. เราอยากให้เห็นคุณค่า ความสําคัญของการอ่าน นอกเหนือจาก content (เนื้อหา) แค่กระบวนการการอ่าน มันก็เสริมทักษะเราแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การฝึกสมาธิให้อยู่กับช่วงเวลานาน ๆ กระบวนการคิด กระบวนการเรียบเรียงต่าง ๆ การเติบโตของจินตนาการ

.

หนังสือคือแหล่งความรู้ที่ราคาถูกที่สุด ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ราคาหนังสือจะแพงขึ้น ๆ เมื่อเทียบกับการสรรหาความรู้ หรือการเข้าเรียนตามคอร์สต่าง ๆ และประโยชน์จากการอ่าน การอ่านหนังสือเล่มหนึ่งให้จบ คุณค่ามันย่อมแพงกว่าราคาที่คุณจ่ายไปอย่างแน่นอน”

.

BACC Library Podcast ชุดรู้จักทักทายสํานักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนําจากสํานักพิมพ์เฉพาะทาง

ตอน สํานักพิมพ์แมงมุมบุ๊ก คุณเบียร์ อนุรักษ์ กิจไพบูลย์ทวี

ผู้ดําเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

แขกรับเชิญ: คุณอนุรักษ์ กิจไพบูลย์ทวี

.

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ทาง

YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=eedO5wsJRag

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify: https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

.

ติดตามสํานักพิมพ์ Mangmoom Book ได้ทาง

FB: mangmoombook

IG: mangmoombook ร้านค้าออนไลน์ https://shopee.co.th/mangmoombook

bookmark
plus icon
share episode

BACC Library Podcast

ชุดรู้จักทักทายสํานักพิมพ์ขนาดเล็ก หนังสือแนะนําจากสํานักพิมพ์เฉพาะทาง

ตอน สํานักพิมพ์สานอักษร โรงเรียนรุ่งอรุณ คุณเกื้อกมล นิยม

ผู้ดําเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

แขกรับเชิญ: คุณเกื้อกมล นิยม บรรณาธิการสํานักพิมพ์สานอักษร โรงเรียนรุ่งอรุณ

สานอักษร โรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นสํานักพิมพ์ที่มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณอยากจะทําให้มีขึ้นมา เพื่อที่จะได้เผยแพร่องค์ความรู้ของโรงเรียน ช่วงแรก ๆ อาจจะดูเหมือนเป็นหนังสือเชิงสารคดี เพราะอิงกับการเรียนการสอน เป็นแนว “บูรณาการสู่ชีวิต”ของโรงเรียนรุ่งอรุณ

.

คําว่า บูรณาการสู่ชีวิต มันคือ ความมีชีวิตชีวา มันคือ การที่ทําอย่างไรให้เรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตของเด็ก เราโชคดีที่มีเด็กกับครู เราทําไป ลงไปในห้องเรียน ลงไปทดลอง เอาไปคุยกับครู เอาไปสังเกตเด็กแบบนี้ เราเริ่มเห็นว่า คําว่า บูรณาการสู่ชีวิต มันกว้างมาก เกื้อก็เลยใช้คําว่า มันคือ ความมีชีวิตชีวา เด็กเขาเหมือนยังไม่มีกรอบ เพราะฉะนั้นเขาจะรับแบบเต็ม ๆ รับแบบเปิด ๆ เกื้อเลยรู้สึกว่า มันสนุกนะ

.

เรารู้สึกว่า เขา (เด็ก) ไม่ใช่คน (ตัว) น้อยที่เราต้องประคบประหงม เขาไปเอาความรู้มาให้เราด้วยนะ เราก็ขอบคุณเขาเลยนะ แล้วก็มีที่เราให้ข้อมูลผิด แล้วเด็กให้ข้อมูลถูก พอเรารู้ว่าเราผิด เราก็เรียกเด็กมาเลย หนูเข้าใจถูกแล้วนะ แบบนี้เราก็ต้องไปบอกเขา เหมือนเพื่อนกันหน่ะ เหมือนคนพอ ๆ กันหน่ะ เดี๋ยวเข้าใจผิดไง แต่เราเข้าใจผิดได้ มันไม่ได้ว่าถูกแล้วเก่ง หรือผิดแล้วโง่ มันก็จะไม่ไปติดกับคุณค่าแบบนั้น

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์คุณเกื้อกมล นิยม แบบเต็ม ๆ ได้ทาง

YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=zdzTOdFGdpo&t=456s

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify: https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

Spotify for Podcasters: https://podcasters.spotify.com/pod/show/bacc-library

bookmark
plus icon
share episode

เรามี motto ว่า “Space for opening all possible worlds.” เรามองว่า สํานักพิมพ์ของเราเป็นพื้นที่ที่จะเปิดโลกใบใหม่ ๆ ให้กับคุณผู้อ่าน เพราะเราเชื่อว่า ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย

เราอยากให้หนังสือของเราเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมโลกวิชาการเข้าสู่โลกมวลชน เพราะหนังสือที่เราทําจะเป็น non-fiction หรือเชิงสารคดี อยากให้มันเป็นเรื่องที่ง่ายสําหรับคนมากขึ้นด้วย เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสํานักพิมพ์ต่างประเทศกับสํานักพิมพ์ไทย ปัญญาความรู้ต่างแดนเข้ามาสู่สังคมไทยมากขึ้น

.

เราอยากเปิด landscape เปิดภูมิทัศน์ทางความรู้ให้กับคนอ่าน เราสนใจความรู้หลากหลายสาขามาก ทั้งเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา การเมือง ไลฟ์สไตล์ สุขภาพต่าง ๆ ไปจนถึงหนังสือที่เป็นความรู้พื้นฐาน และความรู้ร่วมสมัย เราพยายามจะทําให้น่าสนใจขึ้น วิชาการไม่จําเป็นต้องเป็นตําราที่แห้งแล้งเสมอไป เราอยากให้มันมีชีวิตชีวา ความรู้มันก็ sexy ได้

รับชมและรับฟังการสัมภาษณ์ได้ใน

BACC Library Podcast ชุด รู้จัก ทักทาย สํานักพิมพ์ขนาดเล็ก

ตอน Bookscape-จิรภัทร เสถียรดี และณัฏฐพรรณ์ เรืองศิรินุสรณ์

รับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

YouTube: bacc channel: https://www.youtube.com/watch?v=EVKnwQSZQ18

รับฟังเฉพาะเสียงได้ที่

Spotify https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV

bookmark
plus icon
share episode

BACC Library Podcast ชุด Join their Journeys

ตอน พฤกษศิลปิน พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก

ชวนคุยโดย: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม

ร่วมพูดคุยกับ: อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก

พฤกษศิลป์ (Botanical Art) คือ ศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีต้นแบบเป็นธรรมชาติเกี่ยวกับพืช ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้ เห็ด รวมถึงพืชน้ํา เช่น สาหร่าย ผู้สร้างสรรค์งานจะเรียกว่า พฤกษศิลปิน (Botanical Artists) แต่เดิมเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชในทาง Documentary

.

อาจารย์พันธุ์ศักดิ์เริ่มเขียนภาพดอกไม้โดยเขียนภาพดอกบัวสายเป็นภาพแรก ๆ เพราะเพื่อนชวนให้เขียนภาพเพื่อประดับร้านอาหารของตัวเอง ชื่อร้าน Water Lily Cafe จากนั้น ได้เริ่มวาดภาพดอกไม้อย่างจริงจังตามคําแนะนําของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งอาจารย์แนะนําให้เขียนภาพสีน้ําดอกไม้โดยไม่ร่างและไม่มีพื้นหลัง จนกระทั่งมีผลงานภาพวาดประกอบนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน เรื่อง อุทยานเครื่องเทศ ลงในนิตยสารพลอยแกมเพชรอย่างต่อเนื่อง

.

มีมูลนิธิและองค์กรการกุศลต่าง ๆ ได้นําผลงานภาพวาดดอกไม้อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ไปใช้เป็นภาพปกหนังสือธรรมะหลายเล่ม รวมทั้งมีการพิมพ์เป็นการ์ดอวยพรปีใหม่ด้วย

. ในที่สุดอาจารย์พันธุ์ศักดิ์ได้พบกับนักสะสมผลงานพฤกษศิลป์ที่มี Collection ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ติดตามเรื่องราวการเดินทางบนเส้นทางพฤกษศิลป์ของอาจารย์พันธุ์ศักดิ์ได้ใน BACC Library Podcast ชุด Join their Journeys ตอน พฤกษศิลปิน พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก

.

ติดตามรับชมภาพและเสียงทาง YouTube, bacc channel: https://www.youtube.com/watch?v=dFGAH02Ra2A&t=175s และรับฟังเฉพาะเสียงได้ทาง Spotify: BACC Library Podcast

bookmark
plus icon
share episode

Show more best episodes

Toggle view more icon

FAQ

How many episodes does BACC Library Podcast have?

BACC Library Podcast currently has 30 episodes available.

What topics does BACC Library Podcast cover?

The podcast is about Kids & Family and Podcasts.

What is the most popular episode on BACC Library Podcast?

The episode title 'Ep.28 JLIT – คุณอรรถ บุนนาค' is the most popular.

What is the average episode length on BACC Library Podcast?

The average episode length on BACC Library Podcast is 44 minutes.

How often are episodes of BACC Library Podcast released?

Episodes of BACC Library Podcast are typically released every 31 days, 2 hours.

When was the first episode of BACC Library Podcast?

The first episode of BACC Library Podcast was released on Dec 4, 2020.

Show more FAQ

Toggle view more icon

Comments