Log in

goodpods headphones icon

To access all our features

Open the Goodpods app
Close icon
headphones
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

พระอาจารย์สุชีพ สุธัมโม (พระกิตติวิมลเมธี)

เสียงบรรยายธรรมของพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) วัดบุปผารามวรวิหาร
bookmark
Share icon

All episodes

Best episodes

Seasons

Top 10 ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) Episodes

Goodpods has curated a list of the 10 best ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) episodes, ranked by the number of listens and likes each episode have garnered from our listeners. If you are listening to ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) for the first time, there's no better place to start than with one of these standout episodes. If you are a fan of the show, vote for your favorite ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) episode by adding your comments to the episode page.

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - สาระสําคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วัดฐิติธรรมาราม (วัดเหวลึก) 9 มิ.ย. 67

สาระสําคัญของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วัดฐิติธรรมาราม (วัดเหวลึก) 9 มิ.ย. 67

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

06/10/24 • 59 min

หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี (สุชีพ สุธมฺโม) วัดบุปผาราม วรวิหาร กทม. บรรยายธรรมใน พิธีบําเพ็ญกุศลทักษิณานุปาทาน พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม) ครบรอบ ๒๕ ปี และ วันมุฑิตาอายุวัฒนะมงคลครบ ๕ รอบ พระครูฉันทธรรมานุรักษ์ (พระอาจารย์สุภาพ ฉันทชาโต) วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๒๐.๐๐ น. ณ วัดฐิติธรรมาราม (วัดเหวลึก) จ.สกลนคร #อานาปานสติ #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน #ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร #มัชฌิมาปฏิปทา #จิตตั้งมั่น #สติ

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - ปฏิจจสมุปบาท (1/3) เข้าถึงกายใจแท้ๆ วัดสระกะเทียม 19 มี.ค. 67

ปฏิจจสมุปบาท (1/3) เข้าถึงกายใจแท้ๆ วัดสระกะเทียม 19 มี.ค. 67

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

03/20/24 • 65 min

หลวงพ่อเจ้าคุณพระกิตติวิมลเมธี (สุชีพ สุธมฺโม) วัดบุปผาราม วรวิหาร บรรยายธรรมหัวข้อ "ปฏิจจสมุปบาท" ให้แก่คณะสงฆ์ผู้มาอบรมในโครงการฝึกอบรม พระคณาจารย์ด้านกรรมฐานทุนเล่าเรียนหลวง ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ณ วัดสระกะเทียม นครปฐม วันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๗

ปฏิจจสมุปบาทเป็นความรู้ชั้นสูง ความรู้ชั้นปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นตอนไหน พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ แล้วปฏิจจสมุปบาทเกิดตอนไหน ปฏิจจสมุปบาทเป็นความรู้หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วทรงไล่เรียง รายละเอียดความรู้ที่พระองค์ตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าไล่เรียงในระยะเวลาที่เสวยวิมุตติสุขหลังจากตรัสรู้ ความรู้ในชั้นนี้เรียกปฏิจจสมุปบาท คือ อริยสัจ ๔ โดยละเอียดนั่นเอง การที่เราจะฟังหรือศึกษาปฏิจจสมุปบาท เราจะต้อง หนึ่ง ไม่หวังจนเกินไปว่าเราจะทะลุรู้แจ้ง สอง เราจะต้องไม่มองว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นของลึกของยาก

ปฏิจจสมุปบาท คือ เรื่องราวที่จะแจ้งให้กับเรารู้ว่า ธรรมชาติของชีวิต ชีวิตของเราที่กําลังเดินอยู่นี้ ชีวิตของท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่นี้ มีธรรมชาติเคลื่อนไหวอยู่ในชีวิต ๒ สาย เรากําลังจะศึกษาสิ่งที่ เป็นสัจจะอันเป็นความรู้ชั้นสูงของพระพุทธเจ้า แต่เป็นความจริงที่มีอยู่ในกายใจนี้ ต้องไม่ลืมว่าปฏิจจสมุปบาท คือ ความจริงชั้นสูงก็จริงแต่เป็นความจริงที่มีอยู่ในกายใจนี้ ในกายใจของท่านที่นั่งอยู่นี้ และเราจะเข้าไม่ถึงความรู้นี้เลยถ้าเราหลงอยู่กับกายใจนี้ อะไรเป็นเครื่องบอกให้รู้ว่าเรากําลังหลงอยู่กับกายใจนี้ ก็คือนิสัยสันดานที่เป็นอัตลักษณ์ของท่านทั้งหลายที่มีแต่ละรูปแต่ละนาม นิสัยสันดานที่เป็นอัตลักษณ์ที่มีอยู่ในรูปนามนั้นแต่ละรูปนามเป็นเครื่องมือสัญญาณที่จะบอกให้รู้ว่า เรากําลังหลงอยู่ในรูปนามนี้อยู่ และเมื่อใดที่เราหลงอยู่ในรูปนามนี้ เราจะเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทไม่ได้

ในชีวิตของเรามีธรรมชาติ ๒ สายที่เคลื่อนไหวอยู่

ธรรมชาติสายที่ ๑ ที่เคลื่อนไหวอยู่ ธรรมชาติสายนี้เมื่อเคลื่อนไหวแล้วจะเป็นสุดที่ทุกข์ ธรรมชาติสายนี้เรียกว่า สมุทยทวาร

ธรรมชาติสายที่ ๒ เคลื่อนไหวอยู่เหมือนกัน ธรรมชาติสายนี้เมื่อเคลื่อนไหวแล้ว จะไปสุดอยู่ที่ความพ้นทุกข์ ธรรมชาติสายนี้ เรียกว่า นิโรธทวาร

#อานาปานสติ #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน

#ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน

#ปฏิจจสมุปบาท #อวิชชา

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - ผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย ชมรมพุทธศาสน์วังจันทรเกษม 11 มิ.ย. 67

ผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย ชมรมพุทธศาสน์วังจันทรเกษม 11 มิ.ย. 67

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

06/11/24 • 52 min

หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี (สุชีพ สุธมฺโม) แสดงธรรมบรรยายแก่สาธุชน ชมรมพุทธศาสน์วังจันทรเกษม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น ๓ อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ วันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๐๐น.

ละความอาลัยในอดีต

ละความกังวลในอนาคต

ละความยึดติดกับปัจจุบัน

ถอยกลับมาอยู่ข้างใน ไม่ปรุงอะไร

การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องวางท่าทีให้ถูกต้อง ใจที่ไม่มีพระรัตนตรัยจะอ่อนแอ

คุณสมบัติของจิต ของผู้ที่ใกล้ชิดพระรัตนตรัย

  1. สกฺโก องอาจ สมควร รู้กาลเทศะ
  2. อุชุ ตรง เรื่องไม่เยอะ ตรง ง่าย ไม่มีนัยยะ ไม่คดโกง การกระทําตรงกับใจ
  3. สุหุชุ ตรงอย่างดี ตรงต่อคําสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ปลีกออก
  4. สุวโจ ในฐานะผู้พูด คือ พูดดี พูดจริง มีประโยชน์ ในฐานะผู้ฟัง คือ พูดง่าย ว่าง่าย สอนง่าย
  5. มุทุ อ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง ไม่เป็นคนหยาบกร้าน
  6. อนติมานี ไม่ทําตัวขัดแย้งกับใคร ไม่เปิดศึก จ้อง เล็ง เพ่งโทษใคร ไม่จ้องที่จะตําหนิติเตียนใคร
  7. สุภร อยู่ง่าย เลี้ยงง่าย
  8. สนฺตินฺทฺริโย มีความสงบเป็นตัวเปิดทางให้กับการเคลื่อนไหวในชีวิต มีความสงบของอินทรีย์เป็นที่ตั้ง เป็นเครื่องหมาย
  9. นิปฺปโก มีปัญญารักษาตัวเอง เวลาที่มีความโกรธ โลภ หลงผิดเกิดผุดขึ้นที่ใจ
  10. สนฺตุสฺสโก ยินดีพอใจอยู่กับสถานภาพที่ตนเป็น เป็นเบื้องต้น สุขกับชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ต้องใกล้ชิดอย่างไร? จึงจะได้ผลอย่างนี้

เริ่มต้นดูที่ความรู้สึก

เรารู้สึกอย่างไรต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์?

ศึกษาเข้าให้ถึงคุณความดีของ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แบบนี้เป็นนามธรรม ไม่มีเสื่อม

#อานาปานสติ #สติปัฏฐาน #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน #พระรัตนตรัย #มัชฌิมาปฏิปทา #ทวิภาวะ

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - นิ่งรู้เฉยอยู่อย่างอิสระ - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (21-24 มี.ค. 67 3/17)

นิ่งรู้เฉยอยู่อย่างอิสระ - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (21-24 มี.ค. 67 3/17)

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

03/22/24 • 70 min

คอร์สอานาปานสติ วันที่ 21-24 มี.ค. 67 ณ วัดบุปผาราม กทม. โดย พระกิตติวิมลเมธี (พระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดบุปผารามวรวิหาร

พอดู โกโป ได้ ดู อปฺปตีโต ได้ ๒ อย่างนี้มันหยาบสุดแล้ว พอเราดูความกําเริบของจิตที่มาจากโทสะ โดยที่เราไม่รู้จักโทสะ ตัวรู้จะมองไม่เห็นถึงโทสะ เพราะว่ามันละเอียดกว่าโกโป และตัวความไม่แช่มชื่น ไม่สดชื่น ตัวกําเริบ มันหยาบสุดแล้ว พอเห็นเรารู้ว่ามันคือ อังคณะตัวอื่นๆ เช่นว่า ความรู้สึกไม่สบาย ความรู้สึกสบาย ความคิดจับจดในแต่ละอย่าง และก็เปลี่ยนความคิดเร็ว จนเป็นความฟุ้ง มันก็จะเห็นได้แล้วทีนี้

ถ้าเราเห็นด้วยจิตตั้งมั่นที่มีสติแลอยู่ เห็นกามฉันท์ได้ เห็นพยาบาทได้ เห็นความฟุ้งได้ เห็นตัววิจิกิจฉาได้ เห็นอย่างนี้ในสติปัฏฐาน เรียกว่า ธัมมานุปัสสนา เห็นด้วยจิตตั้งมั่นที่มีสติแลอยู่

ในธัมมานุปัสสนามีอะไรบ้าง? มีนิวรณ์ โพชฌงค์ อริยสัจ

ทําไมเห็นโพชฌงค์กับเห็นนิวรณ์ จึงเป็นธัมมานุปัสสนา?

มันเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นและมีสติแลอยู่

เวลาเราหลับ มันไม่ใช่นิวรณ์แล้วนะ อันนั้นคือมันตกในนิวรณ์แล้ว แล้วเรามาเห็นว่าหลับ เอาตอนที่เราตื่น มันเกิดและดับไปแล้ว

เห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นและมีสติแลอยู่

มันเห็นว่า ตัวกามฉันทะก็ดี วิจิกิจฉาก็ดี อุทธัจจะกุกกุจจะก็ดี ความง่วงความหลับก็ดี

มันจ่อ จ่อ จ่อ จิตยังไม่ตกอยู่ในอํานาจของมัน ตัวที่ตั้งมั่นมีสติแลอยู่มันเห็นอยู่

แต่โดยปกติ อย่างตัวความคิด ที่เราบอกว่าเราเห็นความคิด แท้ที่จริงเราจมกับความคิดไปแล้ว แล้วความคิดนั้นมันหายไป ก็รู้ตัวว่าหลงไปคิด มันตกไปอยู่ ถ้าอย่างนั้นไม่ถือว่าเป็นธัมมานุปัสสนา

ธัมมานุปัสสนานี้ จิตตั้งมั่นมีสติแลอยู่ แล้วเห็นตัวความคิดที่มันกําลังจะเกิด

ตัวจิตที่มีความตั้งมั่นมีสติแลอยู่ กับตัวความคิด ตัวกามฉันท์ ตัวถีนมิทธะ ตัวนิวรณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น มันเป็นอีกตัวหนึ่ง เป็นอีกสภาพธรรมหนึ่ง จิตยังไม่ตกลงไป มันละเอียดนะ ถ้าเห็นอย่างนั้นได้ เห็นอย่างนั้นจนจิตรู้เท่าทันในปัจจุบัน มันก็จะละเอียด

เพราะฉะนั้นท่านจึงให้เราดูอังคณะก่อน คือ ที่เป็นเนินงอกออกมาก่อน พอหลังจากเห็นเนินแล้ว เท่าทันเนินแล้วต่อไปก็จะเห็นตัวเรียบของมัน แต่ทั้งหมดก็ถูกปรุงขึ้นมาจากอวิชชา โมหะ และอุปธิ รวมลงอยู่ในเจตนา อยู่ในสังขาร แต่ละขณะจิตจะเป็นการทํางานของอุปาทานขันธ์ แต่พอจิตตั้งมั่นและแลอยู่ อุปาทานขันธ์ทํางานไม่ได้ ก็ทํางานเพียงแค่ขันธ์ เช่น สัญญา สัญญาที่ทํางานก็ไม่ได้เป็นอุปาทาน ไม่ได้เป็นสัญญูปาทานขันธ์ คือ ไม่ได้เป็นการยึดมั่นในสัญญา แต่สัญญาเกิดผุดขึ้นตามธรรมชาติของมัน จิตที่ตั้งมั่นก็จะดูอยู่ได้ แต่เวลาเราหลุดออกไปคิดจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว หล่นไปในความคิดเรียบร้อยแล้ว แล้วก็มาบอกว่า อ๋อ เมื่อกี๊หลุดไปคิดนี่ อย่างนั้นเรียกว่า ยังดูไม่ทัน ตอนที่คิดก็เป็นสัญญูปาทานขันธ์ เป็นขันธ์ ๕ เหมือนกันแต่เป็นชนิดอุปาทานขันธ์

แต่ที่จิตตั้งมั่นและแลอยู่ แล้วก็มองเห็นตัวที่ผุดขึ้นมาเป็นสัญญา

สัญญาเป็นสภาพธรรมตัวหนึ่ง ตัวรู้ที่ตั้งมั่นเป็นอิสระอยู่ก็เป็นตัวหนึ่ง คนละตัวกัน จิตไม่ตกอยู่ในอํานาจของสัญญา มันจึงจะเห็นได้

พอเห็นได้ด้วยความตั้งมั่น ตัวเราก็ถูกตัดขาดออกไป ไม่ไปทําเหตุเพิ่ม สัญญาที่เกิดขึ้นอยู่ก็จะดับไป นั่นคือ ความเป็นจริงของสัญญา เวทนาสังขาร วิญญาณ รูป

ความเป็นจริงของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จะปรากฏชัดตามความเป็นจริงต่อเมื่อจิตนิ่งรู้เฉยอยู่อย่างอิสระ อยู่กับความตั้งมั่น และก็มีปัญญารู้เห็นซึ่งความหยาบของกิเลสที่ชื่อว่า อังคะ

นิ่งรู้เฉยอยู่เป็นอิสระที่มีความตั้งมั่นก็ถูกบ่มมาจากการรู้อาการกายอาการใจ มันคนละตัวกัน

นิ่งรู้เฉยอยู่อย่างอิสระ

รู้เห็นตามความเป็นจริงของอังคณะ เท่าทันต่ออังคณะ

รู้เห็นตามความเป็นจริงของนิวรณ์

รู้เห็นตามความเป็นจริงของขันธ์

รู้เห็นตามความเป็นจริงของธาตุ

รู้เห็นตามความเป็นจริงของอายตนะ

รู้เห็นตามความเป็นจริงของอริยสัจ

เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของขันธ์ ธาตุ อายตนะ

สภาพธรรมที่ชื่อว่าอริยสัจก็ปรากฏขึ้นมาทั้ง ๒ สาย ทั้งสายที่เกิด ทั้งสายที่ดับ

เห็นทุกข์ รู้ทุกข์ เห็นทุกข์ดับ รู้ทุกข์ดับ

ซึ่งมันเป็นธรรมชาติสภาพธรรมที่ปรากฏขึ้น จากการที่เราเห็นความเป็นจริงของธาตุ เห็นความเป็นจริงของขันธ์ เห็นความเป็นจริงของอายตนะ ซึ่งความเป็นจริงเหล่านี้ จะเห็นได้ในสิ่งเหล่านี้ ก็จะต้องอาศัยความนิ่งรู้เฉยอยู่อย่างอิสระที่มีกําลังที่มีความตั้งมั่น

เพราะฉะนั้น ความตั้งมั่นจึงเป็นหัวใจของเรื่องราว ความตั้งมั่นเป็นยอดของบุญ ความตั้งมั่นเป็นมหากุศล ในตัวความตั้งมั่นจะมีสติแลอยู่

#อานาปานสติ #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน #ความตั้งมั่น #ธัมมานุปัสสนา

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบุปผาราม วรวิหาร 5 ก.ค. 67

เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบุปผาราม วรวิหาร 5 ก.ค. 67

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

07/05/24 • 26 min

หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี⁠ (สุชีพ สุธมฺโม)

แสดงธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เนื่องในอภิลักขิตสมัย ๒๐๐ ปี นับแต่ทรงผนวช ในวันธรรมสวนะ ณ วัดบุปผาราม วรวิหาร กทม. วันศุกร์ที่ ๕ ก.ค. ๒๕๖๗ #อานาปานสติ #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน #วันพระ

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - พระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า มูลนิธิบ้านอารีย์ 15 ก.ย. 67

พระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า มูลนิธิบ้านอารีย์ 15 ก.ย. 67

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

09/15/24 • 66 min

หลวงพ่อเจ้าคุณอาจารย์พระกิตติวิมลเมธี⁠ (สุชีพ สุธมฺโม) บรรยายธรรม ในกิจกรรมสายธรรม วันสว่าง ณ มูลนิธิบ้านอารีย์ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ ก.ย. ๒๕๖๗

#พระกิตติวิมลเมธี #วัดบุปผาราม #มัชฌิมาปฏิปทา #อานาปานสติ #สติปัฏฐาน #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน#ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - ผล 4 ประการของผู้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม วัดป่าภาวนาวิเวก 21 มิ.ย. 67

ผล 4 ประการของผู้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม วัดป่าภาวนาวิเวก 21 มิ.ย. 67

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

06/23/24 • 110 min

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - คุณค่าของขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (21-24 มี.ค. 67 8/17)

คุณค่าของขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (21-24 มี.ค. 67 8/17)

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

03/23/24 • 60 min

คอร์สอานาปานสติ วันที่ 21-24 มี.ค. 67 ณ วัดบุปผาราม กทม. โดย พระกิตติวิมลเมธี (พระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดบุปผารามวรวิหาร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา อย่าให้เวลามันล่วงเราไปเฉยๆเลย อย่าประมาทกันเลย อย่างน้อยที่สุด เวลาที่จะล่วงไปนั้น ให้มันผ่านไปด้วยการทําโยนิโสมนสิการว่า สรรพสิ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ล้วนแต่ตกอยู่ในใต้กฎ ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เวลาในขณะหนึ่ง ขณะหนึ่ง ถ้ามันไม่ได้อะไรแล้ว ขอให้มันล่วงไปด้วยความรู้สึกอย่างนี้ มันก็จะตกผลึกเป็นสัจจะ เป็นสัจธรรมในใจของคนที่พิจารณา หรือไม่ก็

อย่าให้ขณะนั้นมันล่วงไปพร้อมกับการเกิดและดับของอกุศลในหนึ่งขณะจิต

พระพุทธเจ้าย้ําเสมอว่า

เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ตาม ความคิดอันเป็นบาปเป็นอกุศลที่มันเกิดขึ้น ที่อาศัยกายเกิดขึ้น แต่ละขณะจิต ความคิดอันนั้น บาปอกุศลอันนั้น ในหนึ่งขณะจิต มันจะสะสม แล้วก็ทําให้จิตนี้หมกมุ่นชุ่มแช่อยู่กับอารมณ์ที่ปรุงมาจากโมหะ ถ้าเราปล่อยให้ขณะจิตมันเกิดอกุศล และกลืนกินไปแต่ละขณะจิต มันจะทําให้จิตนี้ตกอยู่ในอํานาจของโมหะ เรียกว่า หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์อันเป็นขี้ข้าของโมหะ ถ้าเมื่อใดที่ให้อกุศลมันเกิด แล้วก็ผ่านไปในห้วงแห่งเวลาในหนึ่งขณะจิต นั่นหมายความว่า กําแพงของโมหะก็จะพอกพูนขึ้น

วิตกฺกํ วิตกฺเกติ ปาปกํ เคหนิสฺสิตํ

ความคิดอันเป็นบาปที่อาศัยกายนี้เกิดขึ้น

กุมฺมคฺคํ ปฏิปนฺโน โส

ว่านั่นเป็นทางผิด เป็นความประมาท เป็นการปล่อยให้เวลาล่วงไปอย่างประมาท

โมหเนยฺเยสุ มุจฺฉิโต

มันเป็นการปล่อยให้ใจจมอยู่กับอารมณ์ของโมหะ และมันก็จะเพิ่มขึ้นๆ

อภพฺโพ ตาทิโส ผู้ที่เป็นเช่นนั้น มันไม่เพียงพอ คือ เหตุไม่พอหรือว่าไม่สมควร

ผุฏฺฐุํ สมฺโพธิมุตฺ

ในการที่จะเข้าสู่ในเส้นทางที่ชื่อว่า สัมโพธิมุต คือ การที่จะพลิกจิตเข้าไปสู่วิชชานั่นเอง

และท่านกล่าวย้ําว่า เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง หรือนอนก็ตาม

วิตกฺกํ สมยิตฺวาน

ความคิดอันเป็นบาปอันใดที่เกิดขึ้น ให้ดูความคิดอันเป็นบาปนั้นละลายไปต่อหน้าต่อตา ละลายไปต่อหน้าต่อตาของสติ ละลายไปต่อหน้าต่อตาของความตั้งมั่นในหนึ่งขณะจิต ถ้าเป็นอย่างนั้น

วิตกฺกูปสเม รโต

จิตจะเกิดธรรมฉันทะ คือ เกิดความยินดีในความสงบที่อกุศลมันดับไปจากจิต ในหนึ่งขณะจิตนั้นๆ นี่มันเก็บเกี่ยวสะสมเป็นเรื่องของสติที่บริสุทธิ์ แล้วก็จะบ่ม ถ้าเป็นอย่างนั้นมันยิ่งทําให้จิตเข้าสู่ฐานที่มีความตั้งมั่นอยู่ในกายเพิ่มขึ้น

ภพฺโพ โส ตาทิโส ภิกฺขุ

บุคคลเช่นนั้น

ผุฏฺฐุํ สมฺโพธิมุตฺตมํ

เป็นผู้ที่มีเหตุเพียงพอ หรือเป็นผู้ที่สมควรในการเข้าสู่เส้นทางของสัมโพธิมุต

ในเรื่องของเวลาจึงเป็นสิ่งที่สําคัญ แม้แต่หนึ่งขณะจิต

ไม่ควรที่จะปล่อยให้มันล่วงไปเฉยๆ ถ้าล่วงไปเฉยๆนี่ก็ประมาทแล้ว เพราะจิตมันไม่เฉยด้วยในหนึ่งขณะจิต นอกเหนือจากมันไม่ล่วงไปเฉยๆแล้ว มันยังกลืนกินชีวิตของเรา กลืนกินชีวิตของสรรพสัตว์ไปทุกขณะ ห้วงเวลาแห่งชีวิตที่มีอยู่ ก็ถูกเวลามันกลืนกินไปเรื่อยๆ ถ้าใครก็ตามที่ปล่อยให้เวลามันกลืนกิน ห้วงแห่งวัย หรืออายุ หรือชีวิตของตนแต่ละขณะ มันถือว่าเป็นความประมาท

พระพุทธเจ้าเลยให้ว่า ให้พิจารณาในหนึ่งขณะจิต อย่างน้อยให้ได้มีโยนิโสมนสิการว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่ควรแก่การยึดมั่นถือมั่น หรือไม่ก็ให้คิด ๓ ประการ พิจารณาลงไปละเอียดว่า รูปนามกายใจนี้ ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรแก่การที่จะเข้าไปยึดถือสิ่งใดๆเลย หาสาระแก่นสารในรูปในนามนี้ ไม่มี พิจารณาแบบนี้

หรือ อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ปล่อยให้อกุศลมันเกิดขึ้นในขณะจิต ในห้วงของเวลาหนึ่ง ที่มันเกิดแล้วก็ดับไปด้วยความเป็นอกุศล เพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในขณะจิตมันจะเก็บเกี่ยว จะตกตะกอนอยู่ที่จิต จะพอกพูนโมหะและอวิชชา นั่นหมายความว่า ถ้าเราอยู่ในหลุมโคลนแห่งความทุกข์ ถ้าเราไม่ประมาท เราก็จะอยู่บนพื้นผิวของมัน แต่ถ้าเราปล่อยให้อกุศลเกิดแต่ละขณะจิต แล้วก็ดับไปด้วยความไม่รู้ มันก็จะพอกพูนโมหะ นั่นเรียกว่า ดําดิ่งลงก้นบ่อของหลุมโคลน มันยิ่งทําให้เกลียวของความเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะทุกข์นี้ ยิ่งมีกําลังแข็งแรง เรียกว่า เชือกเกลียวแห่งความทุกข์จะรัดรึงจิตนี้ ให้จมปลักอยู่ในห้วงของความทุกข์อีกยาวนาน

คุณค่าของชีวิตอยู่ที่การให้ความสําคัญต่อเวลา

ในขณะที่เป็นปัจจุบันของชีวิตนี้ ไม่ควรปล่อยให้ขณะนั้นเป็นอกุศลที่เป็นอาหารของอวิชชา

สภาพธรรมใดที่ปรากฏในสภาพธรรมนั้น ให้รู้ชัดในสภาพธรรมนั้น นี่คือหลักของการภาวนา

#อานาปานสติ #สติปัฏฐาน #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พุทธศาสนา

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - นำปฏิบัติบัลลังก์ที่ 4 - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (21-24 มี.ค. 67 9/17)

นำปฏิบัติบัลลังก์ที่ 4 - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (21-24 มี.ค. 67 9/17)

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

03/23/24 • 30 min

คอร์สอานาปานสติ วันที่ 21-24 มี.ค. 67 ณ วัดบุปผาราม กทม. โดย พระกิตติวิมลเมธี (พระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดบุปผารามวรวิหาร

ปล่อยตัวตามสบายๆ นั่งตัวตรง ดํารงสติอยู่เฉพาะหน้า ปลดปล่อยทุกอย่างหมด

แค่มีกายที่นั่งตรง มีรู้อยู่ข้างใน และรู้อยู่ฐานที่มั่นนิ่งๆ มีเท่านี้ มี ๒ ธรรมชาติ คือ กายกับจิต

จิตอยู่ในฐานะผู้รู้ ที่อาศัยกายอยู่ในส่วนที่ชื่อว่านิมิต

นิ่งรู้เฉยอยู่ที่ฐานอย่างอิสระ ดูอาการกายอาการใจตามความเป็นจริง ด้วยการแค่รู้

นิ่งรู้เฉยอยู่ที่ฐานอย่างอิสระ อย่าปล่อยให้ลึกลงไป

ขยับนิ้วมือขวา รู้สึก ยกมือขวาเลื่อนไปวางไว้ที่เข่าข้างขวา

ขยับนิ้วมือซ้าย รู้สึก ยกมือซ้ายขึ้น ให้ตัวรู้นิ่งอยู่ที่ฐาน ชําเลืองดูมือซ้ายที่ขยับไปวางไว้ที่เข่าซ้าย

นิ่งรู้อยู่เฉพาะหน้า อิสระ ผงกหน้านิดหนึ่ง แล้วก็ลืมตาออกจากสมาธิ

บัลลังก์นี้ก็ครึ่งชั่วโมงนะ ในระหว่างนี้ยังมีเวลา ใครจะไปปฏิบัติส่วนตัวก็เชิญนะ ยังมีเวลาอยู่

#อานาปานสติ #สติปัฏฐาน #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน

bookmark
plus icon
share episode
ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) - ความตั้งมั่นที่มีอยู่ดูจิตตสังขาร - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (20-23 มิ.ย. 67 4/12)

ความตั้งมั่นที่มีอยู่ดูจิตตสังขาร - คอร์สอานาปานสติ วัดบุปผาราม (20-23 มิ.ย. 67 4/12)

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)

play

06/22/24 • 65 min

คอร์สอานาปานสติ วันที่ 20-23 มิ.ย. 67 ณ วัดบุปผาราม กทม. โดย พระกิตติวิมลเมธี (พระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดบุปผาราม วรวิหาร

เราเข้าลู่ได้ถูกแล้ว เพียงแค่ใช้ความเพียรบ่มความตั้งมั่นนี้ให้มีกําลังขึ้นมา ตัวที่มีปัญหาที่สุดในชีวิต คือ ตัวจิตตสังขาร จิตตสังขาร แปลว่า สังขารของจิต ก็คือตัวที่ปรุงแต่งจิต

ปัญหาทั้งหมดอยู่ที่จิตตสังขาร คือ ตัวที่เข้ามาปรุงแต่งจิตอันเกิดจากการบ่มเพาะของอวิชชา ที่จรเข้ามาตั้งแต่เรามาจากท้องแม่ นอกจากนําสิ่งซึ่งติดตัวจิตมาตอนลงปฏิสนธินั้นแล้ว ยังมีความรู้ความจําความเชื่อใหม่ๆที่เข้ามาแต่ละช่วงของชีวิต แต่ละขณะของชีวิตที่เคลื่อนไหวจนมาถึงวันนี้ อันนั้นคือตัวปัญหา ซึ่งมันจะเกิดเป็นจิตตสังขารอยู่ตลอดเวลา

การที่จะกําราบจิตตสังขาร เราละมันไม่ได้ เราทําหน้าที่แค่รู้มัน รู้จักมัน รู้ว่ามันคือจิตตสังขาร ตัวที่เราดูง่ายที่สุด คือ ตัวที่เป็นอกุศล จิตตสังขารทั้งกุศลและอกุศล ทั้งอัพยากฤต คือ กลางๆยังไม่เป็นกุศลยังไม่เป็นอกุศล ทั้ง ๓ ตัวนี้ ล้วนแต่เป็นตัวที่จะลากเราเข้าไปอยู่ใน ๓๑ ภพภูมิ

จิตตสังขารที่เป็นกุศล เมื่อเข้ามาปรุงแต่งจิตแล้ว อย่างดีก็ไปสวรรค์ มากกว่านั้นก็ไปรูปพรหม มากกว่านั้นก็อรูปพรหม เสร็จแล้วก็ร่วงหล่นลงมา เพราะมันอยู่ในลักษณะของการปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา อยู่ในอนิจจธรรม เปลี่ยนแปลงแปรปรวนอยู่เรื่อยๆ

เพราะฉะนั้นท่องไปใน ๓๑ ภพภูมินี้ เดี๋ยวก็ได้ไปอบาย เดี๋ยวก็มามนุษย์ เดี๋ยวก็ไปสุขติ เดี๋ยวก็ไปพรหม ก็สุดแท้แต่ว่าสภาพของจิตที่ดับไปนั้นเป็นอย่างไร แต่ในที่สุดแล้วมันก็จะไปสุดอยู่ที่ทุกข์ เพราะใน ๓๑ ภพภูมิ ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ล้วนแต่มีความไม่เที่ยง เสื่อมสิ้น พิบัติ แปรปรวน ไม่อยู่ในอํานาจของผู้ใด เพราะว่ามันอยู่ในอํานาจของอวิชชา

เพราะฉะนั้นจิตตสังขารในส่วนที่เป็นกุศล อกุศล ทั้งที่เป็นส่วนกลางๆ ในที่สุดแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องดูให้รู้ ให้รู้ว่านี่คือจิตตสังขาร นี่คือความคิด การที่มันดูได้ จิตตสังขารหรือว่าความคิด ต่อไปนี้จะพูดว่าความคิดนะ ความคิดนี่จะรวมทั้งเจตนา ผัสสะ เวทนา สัญญา และมนสิการ รวมทั้งอารมณ์ลงไปด้วย ถ้าพูดให้เป็น ๓ คํา ก็เรียกว่า การคิด การนึก และ อารมณ์

คิด คือ เกิดขึ้นจากในใจ ด้วยอํานาจของสัญญา และเวทนา

นึก คือ การส่งออกไป

อารมณ์ คือ มีกําลังที่เบ่งบานเต็มตัว และครองใจ

ความคิดนี่จะอยู่เบื้องหลังจะทําหน้าที่เป็นจิตตสังขารคือ ตัวที่คอยปรุงแต่งจิต หรือเป็นสังขารของจิตอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราจะต้องดูตัวที่ดูได้ก่อน ตัวที่ดูได้ก็คือ ตัวที่ปรุงแต่งแรงๆ นั่นก็คือ อกุศล

จิตตสังขารในส่วนที่เป็นอกุศล พอมันเกิดแรงๆต้องกล้าพอสําหรับที่จะดูเขา ดูจนรู้จักว่าอันนี้ คือ จิตตสังขาร คืออกุศลจิต คือความคิดที่เป็นอกุศล แค่รู้จักอย่างนี้ คือการรู้ทุกข์ เป็นหลักการปฏิบัติในอริยสัจ ๔

ในเบื้องต้นของอกุศลจิตที่เป็นจิตตสังขารนั้นเราทําอื่นไม่ได้ สิ่งที่ทําได้คือการกําหนดรู้ รู้เขาอย่างเดียว แต่รู้ให้เข้าถึงตัวที่เป็นจิตตสังขาร ไม่ใช่รู้แฉลบออกไปเข้าไม่ถึงจิตตสังขาร แต่ไปสู่วัตถุอันเป็นอามิสซึ่งเป็นเหยื่อของอกุศล

ความโกรธที่เป็นจิตตสังขาร กําหนดรู้ด้วยการรู้ เรียกว่า ปริญญา รู้มันไป รู้มันไป รู้มันไป พอรู้ปั๊บมันดับ พอมันมาใหม่ก็รู้ใหม่ มาใหม่ก็รู้ใหม่ ไม่กี่ครั้ง ตัวจิตก็จะเห็นเป็นปัญญาว่า เหตุที่มา พอเกิดอาการอย่างนี้เดี๋ยวมันจะมีความโกรธเกิดขึ้น เกิดอาการอย่างนี้เดี๋ยวมันจะมีความรักเกิดขึ้น

อาการที่ว่าเป็นอาการในจิตนะ ซึ่งมีชื่อเรียกแต่ไม่อยากจะพูดเดี๋ยวมันจะเยอะเกินไปจําไม่ได้ ขอให้รู้ในคําว่า มันมีเหตุของมัน พอมันชํานาญมันจะเห็นเหตุของมัน พอเห็นเหตุ เหตุนั้นดับ พอเหตุดับความโกรธที่มีอยู่ก็ดับ การเห็นเหตุดับเรียกว่า สมุทัย กิจที่ทําในเหตุแห่งความทุกข์ เรียกว่า ปหานปริญญา พอมันดับไปแล้ว เหตุมันดับไปแล้ว มันก็จะรู้ซ้ําลงไป อ๋อมันดับไปแล้ว รู้ที่รู้ซ้ําลงไปถึงเหตุที่มันดับไปนี้ เรียกว่า กตญาณ คือ รู้ในกิจที่ทําเสร็จแล้วในแต่ละอย่าง

นี่เป็นเรื่องราวของอริยสัจ ๔ ทั้งหมด แต่มันต้องเริ่มต้นด้วยความเป็นกลางแห่งจิต นั่นคือความตั้งมั่น ที่ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรเรียก มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ความตั้งมั่นอันมีสติแล้วแลอยู่นี่แหละ ของพวกเราทุกคนไม่ได้ชมนะ ความตั้งมั่นอันมีสติแล้วแลอยู่ เรามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราก็จะต้องดูจิตตสังขาร

#พระกิตติวิมลเมธี #วัดบุปผาราม #อานาปานสติ #สติปัฏฐาน #ปฏิบัติธรรม #สมาธิ #สมาธิภาวนา #นั่งสมาธิ #วิปัสสนา #วิปัสสนากรรมฐาน #ปัญญา #ธรรมะในชีวิตประจําวัน #ธรรมะ #พระธรรมเทศนา #พุทธศาสนา #คําสอน #ความตั้งมั่น #จิตตสังขาร #มรรค

bookmark
plus icon
share episode

Show more best episodes

Toggle view more icon

FAQ

How many episodes does ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) have?

ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) currently has 956 episodes available.

What topics does ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) cover?

The podcast is about Buddhism, Religion & Spirituality and Podcasts.

What is the most popular episode on ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)?

The episode title 'การเดินจงกรม ชำเลืองดูรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 17 พ.ค. 67 (5/6)' is the most popular.

What is the average episode length on ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)?

The average episode length on ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) is 52 minutes.

How often are episodes of ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) released?

Episodes of ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) are typically released every 10 hours.

When was the first episode of ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี)?

The first episode of ฟังธรรมจากพระอาจารย์สุชีพ สุธมฺโม (พระกิตติวิมลเมธี) was released on Jul 29, 2019.

Show more FAQ

Toggle view more icon

Comments